ฟ้องเปิดทางภาระจำยอมอย่างไร

คำพิพากษาศาลฏีกาที่  2930/2562

ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ได้แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๗๐๐ มาเป็นเวลานาน มีการแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยหลายแปลงและ มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่น แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๗๐๐ และที่ดิน ของโจทก์ทั้งสี่เคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ซึ่งที่ดินดังกล่าวติดกับทางสาธารณะ เมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วทําให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๕๐ เป็นบทบัญญัติบังคับแก่กรณีทางจําเป็น โดยเด็ดขาด มิได้คํานึงว่า จะมีทางเข้าออกอื่นที่สะดวกกว่าหรือไม่ ดังนั้น โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจฟ้องเรียกร้องทางเดินผ่านที่ดินของจําเลย ซึ่งมิใช่ ที่ดินแปลงเดิมที่ถูกแบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปโดยไม่จําต้องคํานึงว่า การผ่านเข้าออกในที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ ๑๗๐๐ จะมีระยะไกลกว่าทางพิพาท หรือไม่สะดวก เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการที่จะผ่านเข้าออกที่ดินแปลงพิพาท หรือไม่

สรุป  แบ่งแยกมาจากที่ดินเดิม ต้องใช้ทางภาระจำยอมผ่านที่ดินโฉนดเดิมที่ถูกแบ่งเท่านั้น และไม่ต้องเสียเงินค่าทดแทนด้วยนะครับ

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบาง อย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น” มาตรา 1350  ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทน