ส่งมอบเงินให้คนอื่นโดยเข้าใจผิดว่าคนนั้นมีสิทธิรับ ฟ้องเรียกคืนได้หรือไม่และมีอายุความกี่ปี

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๒๘๘๘/๒๕๖๒

โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินเบี้ยหวัด เงินบํานาญ เงินบําเหน็จ ดํารงชีพและเงิน ช.ค.บ. ที่โจทก์จ่ายให้แก่จําเลยไป โดยจําเลยไม่มีสิทธิ จะได้รับเงินดังกล่าว เนื่องจากจําเลยปิดบังไม่ให้โจทก์ทราบว่าจําเลย กลับเข้ารับราชการในตําแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล อันเป็น ตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัด เงินบํานาญ เงินบําเหน็จดํารงชีพ และเงิน ธ.ค.บ. ให้แก่จําเลยไปโดยสําคัญผิดว่าจําเลยมีสิทธิได้รับ การได้รับเงินเบี้ยหวัด เงินบํานาญ เงินบําเหน็จดํารงชีพ และเงิน ช.ค.บ. ของจําเลยไปจากโจทก์จึงเป็นการได้รับไปโดยมิชอบ และมิใช่กรณีโจทก์ เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัด เงินบํานาญ เงินบําเหน็จดํารงชีพ และเงิน ช.ค.บ. ให้แก่จําเลยเพื่อชําระหนี้ เพราะเป็นเรื่องจําเลยขอรับสวัสดิการจาก หน่วยงานของรัฐ ซึ่งจําเลยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ ดังนี้ แม้เงินที่จําเลยได้รับไปจะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อเป็นการได้มาโดยมิชอบก็หาใช่เรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๐๖ ไม่โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จําเลยไปโดยสําคัญผิด ย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจําเลยผู้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับหรือ ยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๓๖ โดยไม่มีกําหนดอายุความ

สรุป การติดตามเอาทรัพย์สินคืนไม่มีอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336  “ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ”